การดูแล ความปลอดภัย ของ นักมวย ในการแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai )

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

การดูแล ความปลอดภัย ของ นักมวย ในการแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai )



มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นกีฬา การต่อสู้ที่สามารถสร้างอาการบาดเจ็บ ให้กับ นักมวย ได้ การดูแล ความปลอดภัย ให้กับนักมวย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ของการแข่งขัน

 

การแข่งขัน กีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) แน่นอนว่า การแข่งขันของกีฬานี้ ผู้เข้าแข่งขันอย่าง นักมวย จะต้องออกอาวุธไปยัง คู่ต่อสู้ เพื่อทำคะแนน และการถูกโจมตี จากคู่ต่อสู้ นักมวย ย่อมได้รับอาการบาดเจ็บ จากคู่ต่อสู้ได้ ดังนั้น ในการแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การแข่งขัน โดยเฉพาะ นายสนามมวย และผู้จัดรายการแข่งขันมวย จะต้องจัดให้มี มาตรการ เพื่อความปลอดภัยของ นักมวย  ตามระเบียบคณะกรรมการ กีฬามวย ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัย สำหรับ นักมวย พ.ศ.2543 ตามมาตรการ ดังต่อไปนี้

 

มาตรการ การรักษาพยาบาล

 

1. จัดให้มี ห้องปฐมพยาบาล ภายใน บริเวณที่มี การแข่งขัน โดยมีระยะห่างจาก เวทีการแข่งขัน ไม่เกิน 100 เมตร พร้อมด้วย อุปกรณ์ทางการแพทย์ และแพทย์แผนปัจจุบัน หรือพยาบาลวิชาชีพ ตามมาตรฐาน การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตลอดระยะเวลาที่มี การแข่งขันมวย

 

2. จัดให้มี ที่นั่งติดกับ เวทีแข่งขัน สำหรับ แพทย์แผนปัจจุบัน หรือพยาบาลวิชาชีพ ตลอดที่มี การแข่งขัน และในการปฏิบัติหน้าที่ของ แพทย์แผนปัจจุบัน หรือพยาบาลวิชาชีพ  ต้องจัดให้มียา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาลเบื้องต้น อันเนื่องมาจาก การบาดเจ็บของนักมวย อย่างเพียงพอ

 

3. จัดให้มี พาหนะ สำหรับ ส่งผู้บาดเจ็บ โดยให้จัด เตรียมการไว้ ตลอดเวลาที่มี การแข่งขัน ตั้งแต่ก่อนแข่งขัน อย่างน้อย 30 นาที และหลังจากเสร็จสิ้น การแข่งขัน กีฬามวย คู่สุดท้ายของรายการ ไม่น้อยกว่า 30 นาที

 

มาตรการเกี่ยวกับ น้ำหนักตัวนักมวย และการตรวจสุขภาพ

 

ก่อนทำการแข่งขัน มวยไทย ต้องมีการตรวจสุขภาพนักมวย และชั่งน้ำหนัก ของนักมวย อย่างน้อย 3 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 12 ชั่วโมง ก่อนมีการแข่งขัน โดยแพทย์ จะทำการชั่งน้ำหนักก่อน และตรวจร่างกาย ตามมาตรฐาน ได้แก่ อุณหภูมิของร่างกาย, ความดันโลหิต, ชีพจร และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งตา หู จมูก ปาก คอ แขน ขา กระดูกข้อมือ ข้อเท้า ซี่โครง มือ แะเท้า รวมถึง การตอบสนองต่อ ระบบประสาท หากนักมวย ไม่ผ่านการรับรอง ความสมบูรณ์ของร่างกาย จากแพทย์ นักมวย จะไม่ได้รับอนุญาติให้เข้าทำการแข่งขัน

 

มาตรการเกี่ยวกับ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน

 

ในด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน ก็มีความสำคัญเช่นกัน ที่นักมวย จะต้องปฎิบัติตามกติกา อย่างการแต่งกายให้ถูกหลัก การเลือกใช้ “นวม” ที่เหมาะสมกับนักมวย และการใส่อุปกรณ์ป้องกัน ความรุนแรง อย่าง กระจับ เพื่อป้องกัน การได้รับการกระทบกระเทือน บริเวณ อวัยวะเพศ และการใส่ ฟันยาง เพื่อป้องกัน การได้รับการกระทบกระเทือน บริเวณฟัน และช่องปาก อีกด้วย

 

มาตรการเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่ของ พี่เลี้ยงนักมวย

 

1. ต้องจัดให้มีการอบรม หรือปฐมนิเทศ ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ การปฐมพยาบาล และมาตรการ ความปลอดภัยของ นักมวย แก่พี่เลี้ยงนักมวย โดยพี่เลี้ยงนักมวย ที่มิได้ผ่านการฝึกอบรม หรือมิได้ผ่านการปฐมนิเทศ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าว

 

2. ในระหว่างการแข่งขัน หรือกรณีที่นักมวย ได้รับบาดเจ็บ ถึงหมดสติ ห้ามมิให้ พี่เลี้ยงนักมวย ใช้ยาเวชภัณฑ์ หรือสารอื่นใด ให้นักมวยรับประทาน สูด ดม เพื่อให้นักมวยผู้นั้น ฟื้นสภาพ เว้นแต่ได้รับ คำแนะนำจากแพทย์

 

นอกจากนี้ ยังมี มาตรการป้องกัน การกระทบกระเทือน ระบบประสาท สมอง และชีวิต สำหรับ นักมวยที่ได้รับ ผลกระทบอย่างหนัก จนถึงขั้นหมดสติ หรือในกรณีที่นักมวย ถูกน็อกเอ้าท์ และเทคนิเกิลน็อกเอ้าท์ เพื่อให้นักมวยได้รับการรักษาพยาบาล และหยุดพักผ่อนร่างกาย อีกด้วย

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ฝึกสภาพจิตกับใจมวยไทย

การนับคะแนน ของ กีฬา มวยไทย ( Muay Thai )



บทความที่น่าสนใจ

ต่อยมวยก็ช่วยลดน้ำหนักได้นะ
เทคนิคการทรงตัว เมื่อขึ้นชกบนสังเวียน มวยไทย ( Muay thai )